บทความที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเลยที่เราไม่ควรมองข้าม การบำบัดน้ำเสียจากแหล่งอุตสาหกรรมหรือแหล่งชุมชนมีวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือการเติมสารเคมีลงไปเพื่อบำบัด เพราะเป็นวิธีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ แต่การบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมสารเคมีมีวิธีการแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงต้องเลือกวิธีการบำบัดให้เหมาะกับสภาพน้ำ วันนี้ CMP GROUP มี 4 รูปแบบในการบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี มาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะเป็นประโยชน์กับทุกคน
รูปแบบที่ 1 การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Coagulation)
เป็นการเติมสารเคมีเพื่อเปลี่ยนสภาพของแข็งแขวนลอยที่มีขนาดเล็กให้จับตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ขึ้นและตกลงไปยังก้นถัง วิธีการนี้จะใช้ในกรณีที่น้ำเสียมีสารแขวนลอยที่มีประจุลบ เช่น ดินเหนียวที่ไม่สามารถตกตะกอนด้วยตัวเองได้ จึงจะต้องเติมสารเคมีที่มีประจุบวกลงไปเพื่อทำให้เกิดความเป็นกลาง จากนั้นดินเหนียวก็จะจับตัวกันเป็นก้อนแล้วตกลงไปที่ก้นถัง สารเคมีที่มีประจุบวกที่นิยมนำมาใช้กันได้แก่ สารส้มและเกลือเหล็ก
รูปแบบที่ 2 การทำให้เป็นกลาง (Neutralization)
เป็นการปรับสภาพน้ำที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างหรือค่า pH ให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยค่า pH ที่เป็นกลางจะอยู่ในช่วง 5- 7
หากน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูงจะต้องนำด่างมาเติม ซึ่งด่างที่นิยมนำมาใช้กันคือโซดาไฟ (NaOH), ปูนขาว (CaO), หรือแอมโมเนีย (NH3) เป็นต้น โลหะหนักบางชนิดได้แก่ สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว แคดเมียม จะละลายน้ำได้ดีเมื่อค่า pH ต่ำ โซดาไฟและปูนขาวจึงถูกนำมาใช้เพื่อแยกสารโลหะหนักให้ตกตะกอนและสามารถแยกออกจากน้ำได้
ส่วนน้ำที่มีค่าความเป็นด่างสูงก็จะต้องนำกรดมาเติมเพื่อปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางมากที่สุด โดยกรดที่นิยมนำมาใช้ได้แก่ กรดกํามะถัน (H2SO4), กรดเกลือ (HCL), หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สำหรับการตกตะกอนบางชนิดอาจจะต้องทำให้เป็นกรดหรือด่างก่อนเติมสารลงไปในน้ำ เพื่อไม่ให้ตะกอนสามารถกลับไปละลายในน้ำได้อีก
รูปแบบที่ 3 วิธีการแลกประจุ (Ion Exchange)
เป็นการให้น้ำไหลผ่าน สารสังเคราะห์ประเภทเรซิ่น (Synthetic Resin) ลงไปในน้ำ ซึ่งสารสังเคราะห์ประเภทเรซิ่นถูกค้นพบว่ามีความสามารถในการแลกประจุได้ดี สามารถกำจัดโลหะหนัก เช่น เหล็กและโครเมียม หรือพวกสารอาหาร เช่น ไนโตรเจน แอมโมเนีย และฟอสเฟต ออกจากน้ำทิ้งได้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้สาหร่ายเกิดขึ้นมากจนเกินไป
เมื่อใช้งานจนหมดสภาพแล้วเรซิ่นสามารถปรับคืนสภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเรซิ่นชนิดที่เป็นกรดแก่หรือกรดอ่อนนำมาแลกกับประจุลบด้วยเกลือแกงหรือกรดเกลือ ส่วนเรซิ่นที่เป็นด่างแก่หรือด่างอ่อนนำมาแลกกับประจุลบด้วยโซดาไฟหรือสารละลายแอมโมเนีย ทำให้เรซิ่นมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นถึง 3-4 ปี
รูปแบบที่ 4 การดูดซับด้วยผงถ่าน (Carbon Adsorption)
เป็นการบำบัดน้ำเสียที่นำผงถ่านมาดูดซับสี สารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ออกจากน้ำ โดยการปล่อยน้ำเสียให้ไหลผ่านถังกรองถ่านอย่างช้าๆ ผงถ่านจะดูดซับเอาสารต่างๆออกทำให้ได้น้ำที่สามารถปล่อยทิ้งหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อได้
การบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมีที่ต้องการความแม่นยำในการเติมสาร สามารถกำหนดเวลาและปริมาณในการเติมสารได้อย่างชัดเจนควรเลือกใช้ปั๊มสูบจ่ายสารเคมีที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานระดับสากล
CMP GROUP ขอนำเสนอปั๊มสูบจ่ายสารเคมี และอุปกรณ์บำบัดน้ำและกำจัดสิ่งปนเปื้อน การบำบัดน้ำเสียในงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ตัวช่วยให้คุณบำบัดน้ำให้คุณภาพที่ดีก่อนที่จะปล่อยสู่ธรรมชาติ
อย่ารอช้าทักแชทมาคุยกันได้ที่ www.facebook.com/cmpgroupth