วันนี้ CMP GROUP มีบทความเกี่ยวกับ สารตกค้างในน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนภายนอก มาเล่าสู่กันฟังเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในปัญหามลพิษทางน้ำ
หลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันดีแล้วว่าประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรม รายได้จากภาคอุตสาหกรรมได้ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ตามมาคือปัญหาน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ภัยจากสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรม ในรูปแบบของสารละลายลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ทำให้หลายที่เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ไม่สามารถนำน้ำนั้นมาใช้เพื่อการบริโภค อุปโภค แล้วยังทำให้ระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำถูกทำลาย ส่งให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน ทำให้ชาวบ้านที่พักอาศัยอยู่ในละแวกนั้นได้รับความเดือดร้อน ก็ยังมีให้พบเห็นกันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งมูลสารเหล่านี้ยากที่จะทำลาย โดยน้ำเสียส่วนใหญ่จะมีการปนเปื้อนทั้งในรูปแบบสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทอาจจะมี “สารอินทรีย์” เป็นองค์ประกอบ ซึ่งหลักสารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไปรตีน ไขมัน ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ ปริมาณของสารอินทรีย์ ในน้ำนิยมวัดด้วยค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand-BOD) สามารถบำบัดได้ง่าย ตัวอย่างโรงงาน เช่น
1.โรงงานฟอกหนัง
2.โรงงานกระดาษ
3.โรงงานน้ำตาล
4.โรงงานฟ้อกย้อม
5. โรงฆ่าสัตว์
6. โรงงานเครื่องดื่ม
7.โรงงานแปรรูปอาหาร
โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทอาจจะมี “สารอนินทรีย์” ตกค้างอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำมีความเป็นกรดและเป็นด่างมากเกินไป มีสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ สารปรอท แร่ธาตุ ต่างๆ ที่อาจจะไม่ทำให้น้ำเน่าเหม็น สารอนินทรีย์เป็นสารที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ซัลไฟด์ ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส กรดด่าง โลหะ เป็นต้น กระบวนการนั้นจะบำบัดได้ยากขึ้น ตัวอย่างโรงงาน เช่น
1.โรงงานอิเล็กทรอนิกส์
2.โรงงานแบตเตอรี่
3.โรงงานปิโตรเคมี
4.โรงงานชุบโลหะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมประเภทที่มีสารอนินทรีย์ เป็นสารประกอบบางชนิดปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย ที่หากไม่ผ่านการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้องจะทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งแม่น้ำลำคลองและชุมชนรอบด้าน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ปัญหาโรงงานแห่งหนึ่งปล่อยน้ำเสีย จนทำให้พื้นที่เกษตรและแหล่งน้ำธรรมชาติโดยรอบเสียหายในวงกว้างในจังหวัดระยอง หรือเคสที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โรงงานแป้งมันปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำห้วยแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำลายระบบนิเวศน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ปลา-ต้นข้าวตายเกลื่อน ซ้ำยังทำชาวบ้านล้มป่วยเป็นโรคผิวหนังและทางเดินหายใจ และที่สุราษฎร์ธานีโรงงานน้ำแข็งซึ่งเปิดในชุมชนมากว่า 10 ปี ยอมรับว่าได้เกิดการรั่วไหลของแอมโมเนีย ลงสู่ลำคลองสาธารณะจนเป็นเหตุให้ ปลาตายเป็นจำนวนมาก และอีกหลายๆเคสหลายๆปัญหาน้ำเน่าเสียที่พบเห็นได้บ่อยทั่วประเทศ
ถึงเวลาแล้วที่ทุกโรงงานต้องให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยกลับคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากผลกระทบกับคนในพื้นที่แล้ว ยังกระจายออกไปในชุมชนอื่นและอาจจะสร้างความเสียหายในระดับชาติอีกด้วย ดังนั้นทุกโรงงานอุตสาหกรรมควรมีระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมายกำหนด ก็จะช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำและเป็นการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย
หากท่านผู้ประกอบการท่านใด มีความสนใจหรือความต้องการ ด้านอุปกรณ์การบำบัดน้ำเสียสิ่งปนเปื้อนอุปกรณ์ แบบครบวงจร ที่มีมาตรฐานสากล สามารถติดต่อขอคำปรึกษาจาก CMP GROUP ได้เลยเรายินดีบริการลูกค้าด้วยใจ
อย่ารอช้าทักแชทมาคุยกันได้ที่ www.facebook.com/cmpgroupth