ผลกระทบสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำจากไฟไหม้ที่ไม่ควรมองข้าม
ช่วงนี้จะเห็นได้ว่ามีข่าวเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น
เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม #ไฟไหม้กิ่งแก้ว เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศกับเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติกจำนวนมาก ซึ่งมีไฟลุกไหม้หลายระลอกมีวัตถุดิบสำหรับผลิตพลาสติก คือเพนเทน 60-70 ตัน สไตรีนโมโนเมอร์ประมาณ 1,600 ตัน เมื่อมีสารเคมีเป็นจำนวนมากการควบคุมเพลิงจึงจำเป็นต้องใช้โฟมเข้ามาดับไฟร่วมกับการใช้น้ำจำนวนมหาศาล
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังมีข่าว #ไฟไหม้กิ่งแก้ว ไฟไหม้โรงงานผลิตรองเท้า ซอยกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งกาว ทินเนอร์ มีถังสารเคมีและทินเนอร์ รวมทั้งถังแก๊สเก็บไว้เป็นจำนวนมาก เพลิงจึงลุกโหมอย่างรุนแรง แต่เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำควบคุมเพลิงไว้ทัน
แล้วล่าสุดเมื่อวาน (26 ต.ค. 2564) ยังมีข่าว #ไฟไหม้โรงงาน ผลิตโฟมบรรจุสินค้า ภายในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี ต้องระดมรถน้ำกว่า 10 คันฉีดสกัด ควบคุมเพลิงไว้ได้ในวงจำกัด คาดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
นอกจากเพลิงไหม้จะสร้างความเสียหายกับโรงงานเองแล้วนั้น ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาหลังจากไฟสงบลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งมลพิษทางอากาศจากควันไฟที่มองเห็นได้ในอากาศ และสิ่งที่อันตรายเลวร้ายกว่าที่ตาเห็นคือ สารเคมีที่ปนเปื้อนไปกับ #น้ำดับเพลิง
คุณสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD เมื่อครั้ง #ไฟไหม้กิ่งแก้ว ครั้งใหญ่ มองว่าประเด็นสำคัญหลังจากที่เพลิงไหม้สงบลงแล้วคือเรื่องน้ำ เนื่องจาก #น้ำดับเพลิง นั้นไหลลงใต้ดิน แล้วเป็นสารเคมีทั้งนั้น จะไปปนเปื้อนน้ำใต้ดิน ลงคลอง จากคลองลงสู่แม่น้ำ และจากแม่น้ำไปสู่ทะเล ฉะนั้นปลาทั้งหลายอาจจะกินไม่ได้ เพราะมันไปปนเปื้อนในเนื้อปลาและพืชผักแถวนั้น
“การฟื้นฟูนอกโรงงานรวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งหลายว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่ ต้องตรวจวัดอะไรเพิ่มเติมไหม หากพบก็ต้องรีบจัดการสูบน้ำในคลองนั้นมาบำบัดโดยไว ทั้งนี้ น้ำที่นำไปดับเพลิงก็ไหลลงดินและซึมลงใต้ดินด้วย จึงต้องมีการนำน้ำจากใต้ดินไปตรวจว่าปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องระยะยาว ต้องใช้เวลานาน ทั้งนี้สามารถใช้น้ำประปาในการอุปโภคบริโภคได้เนื่องจากไม่ปนเปื้อน แต่น้ำคลองห้ามใช้ รวมถึงน้ำฝนด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อฝนตกลงมาเจอไอระเหย พวกนี้จะกลายเป็นฝนกรด และฝนพวกนี้จะทำให้ดินเปรี้ยว ต้นไม้ตาย” คุณสนธิกล่าว
ดังนั้น #น้ำดับเพลิง เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม หลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ต้องทำการตรวจสารเคมีตกค้างในแม่น้ำลำคลองเพราะอาจจะทำให้ระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำถูกทำลาย ส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่แล้วยังกระจายออกไปในชุมชนอื่นและอาจจะสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้ อาจจะต้องทำการฟื้นฟูหรือบำบัดน้ำให้ถูกวิธี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สรุปเหตุ โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ เรารู้อะไรแล้วบ้าง - THE STANDARD
จับตาสารตกค้างในอากาศ-แหล่งน้ำจากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ผู้เชี่ยวชาญเตือนประชาชนโดยรอบกลับบ้านได้หลังเพลิงสงบแล้ว 1-2 วัน แนะขั้นตอนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมระยะยาว – THE STANDARD
วอด 100 ล้าน ไฟไหม้โรงงานโฟมในนิคมนวนคร ต้องระดมรถน้ำกว่า 10 คันฉีดสกัด - ไทยรัฐออนไลน์
ไฟไหม้โรงงานรองเท้าซอยกิ่งแก้ว คาดเสียหายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท - ข่าวไทยพีบีเอส
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ สารเคมีตกค้าง ปัญหาใหม่หลังเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมี - BBC NEWS
เล่านาทีละทึก เพลิงไหม้โรงงานพลาสติกข่าวสด 40 ไร่ดับเพลิงช่วยคนงานระทึก - ข่าวสด